Skip to main content

New Telco Market กับการชิงส่วนแบ่งจาก Facebook และเติบโตในตลาดสื่อสารไทย

 

ตลาดโทรคมนาคมใหม่ หรือ NEW TELCO MARKET กำลังเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากผู้เล่นในกลุ่มโทรคมนาคมแบบดั้งเดิม อย่าง AIS, TRUE, DTAC และ NT กำลังต้องปรับตัวเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งรายได้กลับคืนมา จากกลุ่มผู้เล่นยุคใหม่ในรูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล หรือ OTT (Over-the-Top) เช่น LINE, FACEBOOK, YOUTUBE, TIKTOK, NETFLIX, DISNEYPLUS, VIU ที่กำลังเอร็ดอร่อยกับชิ้นปลามันบนหลังของผู้เล่นกลุ่มเดิม




ในอดีตผู้ให้บริการโทรคมนาคมหรือค่ายมือถือ มีรายได้หลักจากค่าโทร และค่าส่งข้อความ แต่วันนี้รายได้ส่วนนี้ไปตกอยู่กับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่าง Line, WECHAT, MESSENGER เป็นต้น จึงกลายเป็นว่าจากเดิมที่ค่ายมือถือแข่งขันกันเองในประเทศ ก็ต้องมีคู่แข่งหน้าใหม่ ๆ จากต่างประเทศเข้ามามากมายนับไม่ถ้วน แถมในอนาคตจะมีคู่แข่งรูปแบบใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาอีก เช่น บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม อย่าง SPACEX และ STARLINK ซึ่งผู้เล่นรูปแบบใหม่เหล่านี้ อ้าแขนกอบโกยรายได้และกำไรเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากต้นทุนโครงข่าย ภาษี และอื่น ๆ เหมือนกับที่ค่ายมือถือของไทยต้องจ่ายทุกอย่าง ไม่นับรายได้ที่ต้องเสียไปให้กับผู้เล่นแอบแฝงจากต่างประเทศเหล่านี้ด้วย เรียกว่ามีแต่เสียกับเสีย

 


ในจำนวนผู้เล่นยุคใหม่ Facebook ยังคงเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียรายใหญ่สุดของโลก ที่แม้วันนี้จำนวนผู้ใช้งานรายวันจะลดลง แต่ผลประกอบการของ Meta เจ้าของ Facebook ก็ยังคงทำกำไรและรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงฐานผู้ใช้งานโดยรวมก็ยังแข็งแกร่ง 

 

ผลการศึกษาของ Facebook เมื่อปลายปี 2564 ระบุว่า ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้นำด้านการเติบโตของส่วนแบ่งธุรกิจค้าปลีกดิจิทัล โดยเติบโตขึ้น 85% จากปีก่อนหน้า แซงหน้าจีน (5%) บราซิล (14%) และอินเดีย (10%) โดย 73% ของผู้บริโภคในประเทศไทยจะกลายเป็นผู้บริโภคดิจิทัล ซึ่ง Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่โกยรายได้มากที่สุด ครองเม็ดเงินมากถึง 1 ใน 3 ของเม็ดเงินลงทุนผ่านสื่อดิจิทัลทั้งหมด รองลงมาเป็นยูทูป (YouTube) 17% และโซเชียลอื่นๆ 9%

 


นี่เป็นแค่หนึ่งตัวอย่างของผู้เล่นบนแพลตฟอร์มดิจิทัลในตลาดโทรคมนาคมใหม่ หรือ NEW TELCO MARKET ที่อยู่ในช่วงขาขึ้นของการทำกำไร เพราะมีช่องทางในการทำมาหากินมากมายบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ขณะที่ผู้เล่นโทรคมนาคมแบบดั้งเดิมของไทยที่เกี่ยวขาอยู่ในตลาดเดียวกัน กำลังต้องเผชิญกับภาวะถดถอยจากการถูกดิสรัปต์ และหากไม่หาทางปรับตัวเพื่อแก้เกม ให้มีกำลังในการลงทุนรูปแบบใหม่ ให้สามารถแข่งขันกับผู้เล่นระดับโลกเหล่านี้ได้ ก็ต้องถูกบีบให้ออกจากตลาดไปทีละราย ในที่สุดประเทศไทยอาจจะต้องสูญเสียผู้เล่นทั้งหมด ซึ่งหมายถึงการสูญเสียรายได้ไปให้กับผู้เล่นต่างชาติ ที่มีกำลังมากกว่าในการเสนอบริการใหม่ ๆ ที่เราจำเป็นต้องถูกบังคับให้ใช้  

 


อย่างไรก็ตาม ปัญหาวันนี้ไม่ได้อยู่ที่ผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ จากต่างประเทศกลุ่มนี้โดยตรง แต่อยู่ที่หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล รวมถึงฝ่ายเกี่ยวข้องที่ต้องเปิดโลกทัศน์รับข้อมูลใหม่ ๆ มองให้เห็นปัญหาที่แท้จริง และหาทางช่วยสนับสนุนหรืออำนวยความสะดวก รวมถึงออกมาตรการที่ทำให้ผู้เล่นของไทยที่กำลังเผชิญพายุฝน สามารถยืนหยัดอยู่ต่อไปได้ พร้อมกับมีโอกาสสร้างรายได้หรือเสียค่าใช้จ่ายในทิศทางที่สมดุลกับผู้เล่นต่างชาติหรือผู้เล่นทุกรายในตลาด เพื่อให้สามารถมีกำลังที่แข็งแรงพอที่จะแข่งขันกันได้อย่างเท่าเทียม ไม่ต้องล้มหายตายจากไปอย่างไม่ยุติธรรมเช่นทุกวันนี้

Comments

Popular posts from this blog

หุ่นยนต์ คน เทคโนโลยี เพื่อนที่ดีแห่งอนาคต

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ทำให้หุ่นยนต์เข้ามามีส่วนสำคัญทั้งในภาคธุรกิจและชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น แม้หุ่นยนต์จะมาทุ่นแรงคนได้หลายอย่าง เช่น ทำงานที่ต้องออกแรงมาก ใช้ความเร็วสูง งานที่ต้องทำซ้ำ ๆ หรืองานที่อันตราย แต่หลายคนก็วิตกว่าหุ่นยนต์กำลังคุกคาม โดยมาทำให้คนตกงานมากขึ้น บทความหนึ่งของ Tim O'Reilly ใน wtfeconomy.com ให้ความเห็นในอีกมุมหนึ่งไว้อย่างน่าสนใจ โดยยกตัวอย่างวิวัฒนาการทางธุรกิจของอเมซอน และเคสจากที่อื่น ๆ โดยสรุปว่า หุ่นยนต์ช่วยเพิ่มการจ้างงานแรงงานมนุษย์ และทำให้มนุษย์มีเวลาไปดูแลกันหรือทำงานที่ต้องปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น   เมื่ออเมซอนนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ และหุ่นยนต์มาใช้ในการบรรจุและขนถ่ายสินค้าในโรงงาน ทำให้สามารถนำสินค้าเข้าศูนย์กระจายสินค้าได้เร็วขึ้น ซึ่งไม่เพียงลดต้นทุนและทำให้ได้งานมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการยกระดับบริการอย่างก้าวกระโดด เพราะตอบโจทย์ลูกค้าตรงจุดทั้งด้านราคา และบริการขนส่งที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อลูกค้าพอใจ ก็ติดใจซื้อสินค้ากับอเมซอนอีก บริษัทจึงเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และสามารถเพิ่มการลงทุนได้มากขึ

ดาวจรัสแสงแห่ง ปชป. จะไม่พายเรือให้โจรนั่ง

ไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่นาน สร้างร่มเงา รากหยั่งลึกลงดิน สร้างความมั่นคง ทนต่อลมฝน พรรคการเมืองไทย อย่างประชาธิปัตย์ ก็ไม่ต่างอะไรกับต้นไม้ใหญ่ ผ่านมากี่ร้อนกี่ฝน ก็ยังคงทน เป็นร่มเงาให้นกน้อยใหญ่ ได้เกาะอาศัย แม้จะต้องเจอมรสุมบ้างตามฤดูกาล แต่ก็ยังหยัดยืนต้น คงอยู่เสมอมา มีเพียงใบไม้ที่ปลิดปลิว ร่วงหล่น และผลัดใบไปตามธรรมชาติ รอยร้าวภายในพรรคที่มีให้เห็นในวันนี้ คงไม่ถึงขนาดจะทำให้ไม้ใหญ่ต้นนี้ล้มครืนลงได้ ท่ามกลางความวุ่นวาย ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจของผู้ใหญ่ในพรรค แต่กลับมีดาวจรัสแสงโผล่มาให้เห็น เป็นดวงดาวที่โดดเด่นเป็นสง่า แถมก้มหน้าก้มตาทำงาน เพื่อผลประโยชน์บ้านเมือง โดยไม่สนความวุ่นวาย ร้าวฉานใด ๆ ในพรรค ไม่ใช่ใครที่ไหน “พนิต วิกิตเศรษฐ์” คนใกล้ตัว อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหนุ่มใหญ๋โปรไฟล์ดี อดีต ผู้ช่วยรมว . ต่างประเทศ   กษิต ภิรมย์ และรองผู้ว่าฯ กทม . สมัยอภิรักษ์ โกษะโยธิน ดีกรีนักเรียนนอก เชื้อสายไม่ธรรมดา ผู้มีฝีปากกล้า ท้าต่อกรไม่สนหน้าพรหมหน้าอินทร์ เจ้าของวลีเด็ด “ต้องไม่พายเรือให้โจรนั่ง” ผ่านประสบการณ์ชีวิต