Skip to main content

หุ่นยนต์ คน เทคโนโลยี เพื่อนที่ดีแห่งอนาคต





การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ทำให้หุ่นยนต์เข้ามามีส่วนสำคัญทั้งในภาคธุรกิจและชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น

แม้หุ่นยนต์จะมาทุ่นแรงคนได้หลายอย่าง เช่น ทำงานที่ต้องออกแรงมาก ใช้ความเร็วสูง งานที่ต้องทำซ้ำ ๆ หรืองานที่อันตราย แต่หลายคนก็วิตกว่าหุ่นยนต์กำลังคุกคาม โดยมาทำให้คนตกงานมากขึ้น

บทความหนึ่งของ Tim O'Reilly ใน wtfeconomy.com ให้ความเห็นในอีกมุมหนึ่งไว้อย่างน่าสนใจ โดยยกตัวอย่างวิวัฒนาการทางธุรกิจของอเมซอน และเคสจากที่อื่น ๆ โดยสรุปว่า หุ่นยนต์ช่วยเพิ่มการจ้างงานแรงงานมนุษย์ และทำให้มนุษย์มีเวลาไปดูแลกันหรือทำงานที่ต้องปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น  

เมื่ออเมซอนนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ และหุ่นยนต์มาใช้ในการบรรจุและขนถ่ายสินค้าในโรงงาน ทำให้สามารถนำสินค้าเข้าศูนย์กระจายสินค้าได้เร็วขึ้น ซึ่งไม่เพียงลดต้นทุนและทำให้ได้งานมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการยกระดับบริการอย่างก้าวกระโดด เพราะตอบโจทย์ลูกค้าตรงจุดทั้งด้านราคา และบริการขนส่งที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อลูกค้าพอใจ ก็ติดใจซื้อสินค้ากับอเมซอนอีก บริษัทจึงเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และสามารถเพิ่มการลงทุนได้มากขึ้น

อเมซอนวางแผนจะจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นอีกกว่า 100,000 คนในอีก 1-2 ปีข้างหน้า นอกจากนี้บริษัทขนาดเล็กอีกกว่า 100,000 บริษัท ที่ใช้แพลทฟอร์มของอเมซอนในการขายและกระจายสินค้า ก็จะจ้างงานคนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน 

แผนภูมิเปรียบเทียบอัตราการจ้างงานของอเมซอน ในช่วง 3 ปีที่มีการนำหุ่นยนต์มาใช้ในแวร์เฮ้าส์ เพิ่มขึ้นจาก 1,400 ตัว เป็น 45,000 ตัว

เคสของอเมซอนบอกเราว่า เทคโนโลยีหรือหุ่นยนต์ไม่ได้มาลดแรงงานคน หากธุรกิจรู้จักปรับตัวและหาแนวทางใหม่ ๆ จะทำให้เทคโนโลยี หุ่นยนต์ และคนทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิผล

ในอดีตสมัยที่มีการนำเครื่องจักรกลมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทอผ้า คนงานได้ประท้วงและร่วมกันทำลายเครื่องจักร เพราะคิดว่าเครื่องจักรสมัยใหม่มาแย่งงานตน ซึ่งเป็นความคิดในมุมลบแต่แง่เดียว เพราะมองไม่ออกว่า เครื่องจักรจะส่งผลให้ความต้องการใช้เสื้อผ้ามากขึ้น

เครื่องจักรสามารถให้ผลผลิตออกมาขายในตลาดได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ลูกค้าก็มีตัวเลือกมากขึ้น จึงจับจ่ายมากขึ้น ส่วนคนก็จะมีงานทำมากขึ้นด้วย เพราะเครื่องจักรทำให้โรงงานสามารถลดต้นทุนของผ้าลงได้ แต่ยังต้องการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของคน เพื่อไปคิดค้นงานใหม่ ๆ เช่น ผ้าที่ราคาถูกลง การตกแต่งลวดลาย การเปลี่ยนเฉดสี การตัดเย็บ และการดีไซน์ ตลอดจนการประดิษฐ์การใช้งานรูปแบบใหม่ ๆ เช่น ชุดนักบินอวกาศ

นอกจากนี้ ในกิจการอื่น ๆ เช่น การขนส่งยาและเวชภัณฑ์ด้วยโดรนไปยังพื้นที่ห่างไกล เข้าถึงยาก ก็ยังต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการควบคุมโดรน

หรือการดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุ เมื่อนำหุ่นยนต์มาช่วยงาน แต่ก็ยังต้องการเจ้าหน้าที่เฉพาะทางที่สามารถใช้เทคโนโลยีในการดูแลสุขภาพผู้ใช้บริการด้วย ซึ่งรวมถึงการใช้ระบบโทรเวชกรรมในการให้บริการที่ดีกว่าและค่าบริการไม่แพง ซึ่งต้องการเจ้าหน้าที่จำนวนมาก เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการที่กำลังเติบโตขึ้น

ส่วนในโรงพยาบาล เมื่อนำหุ่นยนต์มาทำงานแทนคนในสิ่งที่หุ่นยนต์ทำงานได้ดี เช่น จ่ายยา หรือ ผ่าตัด บุคลากรอื่น ๆ เช่น แพทย์และพยาบาล ก็มีเวลาไปทำงานที่เน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิต เช่น ใช้เวลาอยู่ดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้น

ในโลกนี้สิ่งต่าง ๆ มักเกื้อกูลกัน เมื่อของชิ้นหนึ่งสามารถขายได้ ของชิ้นอื่น ๆ ก็จะมีราคาตามไปด้วย หากเรานำผลพวงจากเทคโนโลยีไปต่อยอดสร้างมูลค่า ในราคาที่ลูกค้าสามารถจับจ่ายได้ เมื่อนั้นเราจะพบหนทางใหม่ ๆ ที่จะสร้างงานอื่น ๆ ได้ต่อไป จนไม่ต้องกลัวว่าใครจะตกงาน 



เครดิต: Do More! What AmazonTeaches Us About AI and the “Jobless Future”
รูปจากอินเทอร์เน็ต  

Comments

Popular posts from this blog

New Telco Market กับการชิงส่วนแบ่งจาก Facebook และเติบโตในตลาดสื่อสารไทย

  ตลาดโทรคมนาคมใหม่ หรือ  NEW TELCO MARKET  กำลังเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากผู้เล่นในกลุ่มโทรคมนาคมแบบดั้งเดิม อย่าง  AIS ,  TRUE ,  DTAC  และ  NT  กำลังต้องปรับตัวเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งรายได้กลับคืนมา จากกลุ่มผู้เล่นยุคใหม่ในรูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล หรือ  OTT (Over-the-Top)  เช่น  LINE, FACEBOOK, YOUTUBE,   TIKTOK, NETFLIX, DISNEYPLUS, VIU  ที่กำลังเอร็ดอร่อยกับชิ้นปลามันบนหลังของผู้เล่นกลุ่มเดิม ในอดีตผู้ให้บริการโทรคมนาคมหรือค่ายมือถือ มีรายได้หลักจากค่าโทร และค่าส่งข้อความ แต่วันนี้รายได้ส่วนนี้ไปตกอยู่กับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่าง Line, WECHAT, MESSENGER เป็นต้น จึงกลายเป็นว่าจากเดิมที่ค่ายมือถือแข่งขันกันเองในประเทศ ก็ต้องมีคู่แข่งหน้าใหม่ ๆ จากต่างประเทศเข้ามามากมายนับไม่ถ้วน แถมในอนาคตจะมีคู่แข่งรูปแบบใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาอีก เช่น   บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม อย่าง SPACEX และ STARLINK ซึ่งผู้เล่นรูปแบบใหม่เหล่านี้ อ้าแขนกอบโกยรายได้และกำไรเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากต้นทุนโครงข่าย ภาษี และอื่น ๆ เหมือนกับที่ค่ายมือถือของไทยต้องจ่ายทุกอย่าง ไม่นับรายได

ดาวจรัสแสงแห่ง ปชป. จะไม่พายเรือให้โจรนั่ง

ไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่นาน สร้างร่มเงา รากหยั่งลึกลงดิน สร้างความมั่นคง ทนต่อลมฝน พรรคการเมืองไทย อย่างประชาธิปัตย์ ก็ไม่ต่างอะไรกับต้นไม้ใหญ่ ผ่านมากี่ร้อนกี่ฝน ก็ยังคงทน เป็นร่มเงาให้นกน้อยใหญ่ ได้เกาะอาศัย แม้จะต้องเจอมรสุมบ้างตามฤดูกาล แต่ก็ยังหยัดยืนต้น คงอยู่เสมอมา มีเพียงใบไม้ที่ปลิดปลิว ร่วงหล่น และผลัดใบไปตามธรรมชาติ รอยร้าวภายในพรรคที่มีให้เห็นในวันนี้ คงไม่ถึงขนาดจะทำให้ไม้ใหญ่ต้นนี้ล้มครืนลงได้ ท่ามกลางความวุ่นวาย ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจของผู้ใหญ่ในพรรค แต่กลับมีดาวจรัสแสงโผล่มาให้เห็น เป็นดวงดาวที่โดดเด่นเป็นสง่า แถมก้มหน้าก้มตาทำงาน เพื่อผลประโยชน์บ้านเมือง โดยไม่สนความวุ่นวาย ร้าวฉานใด ๆ ในพรรค ไม่ใช่ใครที่ไหน “พนิต วิกิตเศรษฐ์” คนใกล้ตัว อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหนุ่มใหญ๋โปรไฟล์ดี อดีต ผู้ช่วยรมว . ต่างประเทศ   กษิต ภิรมย์ และรองผู้ว่าฯ กทม . สมัยอภิรักษ์ โกษะโยธิน ดีกรีนักเรียนนอก เชื้อสายไม่ธรรมดา ผู้มีฝีปากกล้า ท้าต่อกรไม่สนหน้าพรหมหน้าอินทร์ เจ้าของวลีเด็ด “ต้องไม่พายเรือให้โจรนั่ง” ผ่านประสบการณ์ชีวิต